- กฎหมายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการ นายจ้าง และ HR
- กรณีไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลกระทบอย่างไร
- สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับกฎหมายฉบับนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง
วิทยากรโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
หัวข้อสัมมนา
1. HR พนักงานทางด้านฝ่ายงานบริหารบุคคลที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
2. สาระสำคัญของร่าง พรบ.ที่มีผลกระทบต่อองค์กร (นายจ้าง)และ ฝ่าย HR จะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร?
3. ทำไม? ต้องมีขอบเขตและวัตถุประสงค์ของสภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
4. บทบาทอำนาจ หน้าที่ตามร่างกฎหมายฉบับนี้มีรายละเอียดอะไรบ้าง
5. คุณสมบัติของผู้ที่ต้องขึ้นทะเบียน (การขอกับสภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล)ที่จะเป็น
- ผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
- ผู้ประกอบวิชาชีพรับอนุญาต
6. "ผู้ประกอบวิชาชีพรับอนุญาต" ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ บริหารทรัพยากรบุคคลจากสภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลเท่านั้น จึงทำงาน HRได้ใช่หรือไม่?
7. ใคร? คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) และ HR ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลหรือไม่ไม่เป็นได้หรือไม่ หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองมาตรฐานวิชาชีพและใบอนุญาต
8. องค์กรและบุคคลที่ประกอบอาชีพ HR ไม่มีใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพฯ จะมีบทลงโทษอย่างไร
9. ทุกองค์กรต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลหรือไม่ หากไม่มีจะได้รับโทษตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือไม่เพียงใด
10. รายละเอียดอะไรบ้าง? ที่ทางสภาวิชาชีพจะตรวจสอบองค์กรและ HR
11. คณะกรรมการจรรยาบรรณตาม(ร่าง)พระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
- คณะกรรมการ คือใคร? มีหน้าที่ รับผิดชอบเรื่องอะไร?
- หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการอย่างไร?เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ
- มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการด้านจรรยาบรรณกับผู้ประกอบวิชาชีพ
ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือไม่เพียงใด
12. การกํากับดูแลการประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคลมีวิธีการและมาตรการอย่างไร
13. บุคคลซึ่งปฏิบัติงานวิชาชีพบริหาร ทรัพยากรบุคคล (HR) ก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับให้ปฎิบัติหน้าที่แต่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต้องกระทำภายในระยะเวลาเท่าใดเพราะเหตุใด
14. นายจ้างหรือผู้ประกอบกิจการมีสิทธิ์ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพ ทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ตนว่าจ้างหรือจะว่าจ้างได้อย่างไร มีปัญหาการตรวจสอบขัดแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ อย่างไร
15. ผู้ประกอบวิชาชีพรับอนุญาตสามารถประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล และปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆให้กับนายจ้างและผู้ประกอบกิจการได้อย่างไรบ้าง
16. กรณีไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพรับอนุญาตแต่ทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล จะมีสิทธิ์ทิหน้าที่และอำนาจแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
17. บทบาท หน้าที่ อำนาจในการลงโทษของสภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลตาม (ร่าง) พระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
18. ถาม-ตอบปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
|