• การทำสัญญาเป็นนิติกรรมที่กระทำกันอยู่เสมอ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ โดยทั่วไป ผู้บริหาร ซึ่งเป็นตัวแทนของ องค์กรในการทำนิติกรรมสัญญากับ บุคคลภายนอกซึ่งมีผลผูกพันองค์กรและตนเอง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ใช้ดุลยพินิจและการตัดสินใจที่ดีและอยู่บนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจ ในข้อกฎหมายและนิติกรรมเป็นอย่างดี
• สามารถตระหนักถึงประเด็นซึ่งเป็นสาระสำคัญ
• ปัญหาและข้อควรระวังต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์
• เพื่อป้องกันความผิดพลาด เสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
• หลักสูตรนี้ได้รวบรวมและนําเสนอประเด็นปัญหาในการทํานิติกรรม สัญญาที่สำคัญไว้เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับ การทำนิติกรรมสัญญาได้ศึกษา และนำไปเป็นแนวทางในการทำนิติกรรมสัญญา ได้อย่าง เหมาะสม รัดกุม เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น มั่นใจและมีประสิทธิภาพ
วิทยากรโดย อาจารย์อภิชน สุทธิพงศ์เกียรติ์
หัวข้อสัมมนา
1. ประเด็นเกี่ยวกับการตีความสัญญาทำอย่างไร ให้ชัดเจนไม่ต้องตีความสัญญาที่ทำว่าเป็นสัญญาอะไร?
2. ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญา หรือ การไม่ปฏิบัติตามสัญญา มีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างไร?
3. ประเด็นเกี่ยวกับวันที่ในการทำสัญญา (กรณีลงว่า..สัญญามีผลวันที่) สามารถใช้ย้อนหลังได้หรือไม่อย่างไร?
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกรณีพิพาทหรือขจัดความเสี่ยงกับบุคคลที่ 3 หรือคู่สัญญา
5. ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ชื่อสัญญาที่เกิดขึ้น กรณีชื่อสัญญาที่ระบุไว้กับเนื้อหาในสัญญาไม่สอดคล้องกัน จะมีวิธีพิจารณาสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาอะไร อย่างไร?
6. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้ “ชื่อสัญญา” มีผลทางกฎหมายอย่างไร? (ชื่อนั้น..สำคัญไฉน) • สัญญาที่ไม่ได้ระบุชื่อสัญญา • สัญญาที่มีหลายสัญญาในฉบับเดียวกัน • การใช้ “ตัวย่อ” ในการใช้เป็นชื่อสัญญา
7. กรณีลูกค้ามีหลายสาขา จะต้องลงชื่อในสัญญาที่ทำไว้ด้วยหรือไม่
8. กรณีที่บริษัท มีสำนักงานใหญ่และสาขา หากต้องการส่งพนักงานไปทำงานที่สาขาที่ต่างประเทศแต่การทำสัญญาได้ระบุไว้ว่า สัญญานี้ใช้บังคับในประเทศไทย ดังนั้นสัญญาที่ทำขึ้นจะใช้บังคับได้กับพนักงานที่ส่งไปอยู่ต่างประเทศได้หรือไม่
9. กรณีลูกค้าระบุชื่อในสัญญา และที่อยู่แต่หากว่าลูกค้าได้ย้ายที่อยู่โดยไม่ได้แจ้งมาทางผู้ทำสัญญาด้วย จะส่งจดหมายที่ระบุไว้ใน สัญญาหรือที่อยู่ใหม่ที่เราติดต่อด้วย
10. ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ผิดหลักไวยากรณ์จะมีวิธีการใดใช้ในการตีความ
11. ประเภทของสัญญาที่สำคัญที่ต้องเจอเป็นประจำ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาจ้างแรงงาน,สัญญาจ้างเหมา , สัญญาเช่าซื้อลิสซิ่ง, สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง, สัญญาการแปลงหนี้ใหม่และอื่นๆ
12. สัญญาบริการพื้นที่กับสัญญาเช่า มีความแตกต่างกันอย่างไร สิทธิในการถือครองทรัพย์สินนั้นอยู่กับใครและจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น สัญญาบริการพื้นที่ หรือสัญญาเช่า
13. ประเด็นเกี่ยวกับจุดแตกต่างระหว่างสัญญาจัดซื้อ กับสัญญาจัดจ้าง มีข้อสังเกตและข้อบ่งชี้ใดบ้าง ที่เป็นข้อสังเกตของสัญญาทั้ง 2 ประเภท
14. ประเด็นที่เกี่ยวกับสัญญาที่ทำขึ้นควรเก็บไว้ที่ใคร เก็บรักษาไว้กี่ปี
15. สัญญาควรทำขึ้นกี่ฉบับ (สำเนาที่มีตัว Copy) ใช้สัญญาหรือสำเนาที่คนส่วนใหญ่เข้าใจแท้จริงแล้วในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร?
16. ประเด็นเกี่ยวกับจุดแตกต่างระหว่างสัญญาจัดซื้อ กับสัญญาจัดจ้าง มีข้อสังเกตและข้อบ่งชี้ใดบ้าง ที่เป็นข้อสังเกตของสัญญาทั้ง 2 ประเภท
17. หากมีการทำสัญญาและเก็บตัวจริงไว้แต่บางครั้งได้ส่งเป็น E-mail อาจจะไม่ได้ส่งเอกสารต้นฉบับให้เซ็นด้วยกรณีดังกล่าวสามารถ นำเอกสารมา ประกอบรวมกันสามารถทำได้หรือไม่หรือต้องนำเอกสารต้นฉบับมาเซ็นทั้งหมด กรณีนี้สัญญานั้นจะยังใช้ได้อยู่ หรือไม่?
18. ประเด็น ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ “ลายเซ็น” ในสัญญาธุรกิจ • “ลายเซ็น” ทางกฎหมายมีกี่ประเภทอะไรบ้าง • อำนาจความรับผิดชอบของ “ลายเซ็น” แต่ละประเภท • เอกสารใดบ้างที่ต้องมี “ลายเซ็น” ใครเป็นผู้เก็บเอกสาร, ใครเป็นผู้มีอำนาจเซ็น
19. ปัญหาที่เกี่ยวกับอากรแสตมป์ควรติดในสัญญาอะไรบ้าง และติดเท่าไหร่ หากติดผิดมีการเสียค่าปรับเงินเพิ่มจำนวนเท่าใด?
20. ต้นฉบับ คู่ฉบับ ใครควรมีหน้าที่เก็บไว้ครอบครอง หากลูกจ้างผลักภาระให้ผู้ว่าจ้างเป็นคนติดอากรแสตมป์แทนผู้ว่าจ้าง แล้วผู้จ้าง จะมีความผิด หรือไม่ ที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์เอง
21. การผิดสัญญาและความรับผิดชอบจากการผิดสัญญา ในกรณีต่างๆ เช่น การมัดจำการชดใช้ค่าเสียหาย เบี้ยปรับการถูกบังคับให้ ปฏิบัติตามสัญญา การชดใช้ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด
|